เมนู

ตติยปัณณาสก์


สมณสัญญาวรรคที่ 1


อรรถกถาสมณสัญญาสูตรที่ 1


สมณสัญญาสูตรที่ 1

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมณสญฺญา ได้แก่ ความสำคัญที่เกิดขึ้นแก่สมณะทั้งหลาย.
บทว่า. สตตการี ได้แก่ ทำไม่มีระหว่าง. บทว่า อพฺยาปชฺโฌ ได้แก่
ไร้ทุกข์. บทว่า อิจฺจตฺถนฺติสฺส โหติ ความว่า สมณสัญญา ย่อมมีแก่
ภิกษุนั้น ในปัจจัยเครื่องปรุงแต่งชีวิต อย่างนี้ว่า เหล่านี้เป็นปัจจัย เพื่อ
สิ่งนี้. อธิบายว่า ภิกษุบริโภคปัจจัยที่พิจารณาแล้ว.
จบอรรถกถาสมณสัญญาสูตรที่ 1

2. โพชฌงคสูตร


ว่าด้วยภิกษุเจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ย่อมยังวิชชา 3 ให้บริบูรณ์


[102] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้ อันภิกษุ
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชา 3 ประการให้บริบูรณ์ โพชฌงค์
7 ประการเป็นไฉน คือ สติสัมโพชฌงค์ 1 ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ 1
วิริสัมโพชฌงค์ 1 ปีติสัมโพชฌงค์ 1 ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 1 สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ 1 อุเบกขาสัมโพชฌงค์ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์
7 ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชา
3 ประการให้บริบูรณ์ วิชชา 3 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง

สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ
พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ 1 ย่อมเห็นหมู่สัตว์ทั้งที่กำลังจุติ กำลัง
อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย
ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ฯ ลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมูสัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรมด้วยประการฉะนี้ 1 ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 ประการนี้แล
อันภิกษุเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชา 3 ประการนี้ให้บริบูรณ์.
จบโพชฌงคสูตรที่ 2

อรรถกถาโพชฌงคสูตรที่ 2


โพชณงคสูตรที่ 2

มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาโพชฌงคสูตรที่ 2

3. มิจฉัตตสูตร


ภิกษุอาศัยมิจฉัตตะ 10 จึงพลาดจากสวรรค์และมรรคผล


[103] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตะ จึงมีการ
พลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล เพราะ
อาศัยมิจฉัตตะอย่างไร จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการ
บรรลุสวรรค์และมรรคผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นผิด
ย่อมมีความดำริผิด ผู้มีความดำริผิด ย่อมมีวาจาผิด ผู้มีวาจาผิด ย่อม
มีการงานผิด ผู้มีการงานผิด ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิด ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด